งานหนังสือเดินทางสำหรับบุคคลอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ข้อมูลที่ต้องทราบก่อนการทำหนังสือเดินทางไทย
1. หนังสือเดินทาง (E-Passport) คือหนังสือเดินทางที่มีการบันทึกข้อมูลชีวมาตร (Biometric Data) ได้แก่ รูปใบหน้า ม่านตา และลายนิ้วมือไว้ใน Contactless Integrated Circuit ซึ่งฝังอยู่ในหนังสือเดินทาง และมีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องที่แท้จริงของหนังสือเดินทาง ดังนั้น ผู้ร้องต้องเข้ามาทำหนังสือเดินทางด้วยตัวเองเท่านั้น เพราะต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ 10 นิ้ว ถ่ายรูปใหม่ และสแกนม่านตาที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
2. หนังสือเดินทางมีความสำคัญยิ่ง ควรเก็บรักษาให้ดี ไม่ควรทำหายเพราะจะเกิดความยุ่งยาก เนื่องจากผู้ที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายจะต้องดำเนินการแจ้งความกับสถานีตำรวจท้องถิ่นของประเทศสหรัฐอเมริกาก่อน (สูญหายในพื้นที่ใด จะต้องแจ้งความกับสถานีตำรวจในพื้นที่นั้น) โดยผู้ร้องจะต้องนำใบแจ้งความจากสถานีตำรวจมาเป็นหลักฐานเพื่อขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ หรือเอกสารเดินทางฉุกเฉิน
3. ควรทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่เมื่อหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันมีอายุการใช้งานเหลือน้อยกว่า 1 ปี และไม่ควรปล่อยให้หมดอายุก่อนทำเล่มใหม่
4. การแก้ไขข้อมูลส่วนตัวในหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางจะต้องตรงกับข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้น หากผู้ร้องที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศต้องการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลใหม่เนื่องจากการสมรสหรือหย่า จะต้องทำเรื่องมอบอำนาจส่งกลับไปแก้ไขในทะเบียนราษฏร (เขตหรืออำเภอ) ที่ประเทศไทย และนำหลักฐานการแก้ไขมาดำเนินการทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ ก่อนที่จะขอทำหนังสือเดินทาง
5. ผู้ที่เกิดในต่างประเทศจะมีสิทธิขอหนังสือเดินทางได้ 1 ครั้ง (อายุ 5 ปีเท่านั้น) เพื่อเดินทางกลับประเทศไทย และควรนำชื่อเข้าในทะเบียนบ้านไทยและทำบัตรประจำตัวประชาชนที่ไทยให้เรียบร้อย ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะไม่ออกหนังสือเดินทางเล่มที่ 2 ให้ จนกว่าจะมีชื่อในทะเบียนบ้านไทยและเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก อย่างไรก็ดี ในกรณีที่จำเป็นต้องเดินทางกลับประเทศไทย สถานกงสุลใหญ่ฯ สามารถออกเอกสารเดินทางฉุกเฉินหรือ Emergency Travel Document (ETD) ให้ท่านเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเดินทางกลับประเทศไทยได้
6. ในการทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ จะต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงที่ยังมีอายุการใช้งานอยู่ ในกรณีที่บัตรประจำตัวประชาชนของท่านหมดอายุ สูญหาย หรือมีการแก้ไขข้อมูลบนบัตร ท่านสามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เช่นกัน โดยสามารถรอรับบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ได้เลย
ทั้งนี้ ท่านจะต้องจองคิวทำบัตรประจำตัวประชาชนแยกต่างหากจากการจองคิวทำหนังสือเดินทาง ดังนั้น เพื่อความสะดวกของท่าน ขอให้จองคิวทำบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือเดินทางในวันเเละช่วงเวลาเดียวกัน ในกรณีที่ไม่สามารถนำบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ ท่านสามารถใช้สำเนาของบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุแทนบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงได้ (อ่านข้อมูลการทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ที่นี่)
7. สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะให้บริการงานด้านกงสุลทุกประเภทสำหรับผู้ที่จองคิวล่วงหน้าเท่านั้น ยกเว้นผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี ไม่ต้องลงทะเบียนจองคิวล่วงหน้า
8. ระยะเวลาการรอรับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ขึ้นอยู่กับประเภทการรับเล่ม หากผู้ร้องเดินทางมารับเล่มด้วยตนเอง ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ หากรับเล่มทางไปรษณีย์ ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์
ข้อแนะนำเรื่องการเตรียมตัวก่อนมาทำหนังสือเดินทาง
เอกสารประกอบการขอทำหนังสือเดินทาง (บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป)
ค่าธรรมเนียม (รับเฉพาะธนบัตรเท่านั้น)
การจองคิวเข้ารับบริการ
1. ผู้ที่จองคิวล่วงหน้าและพักอาศัยอยู่ใน 10 รัฐ (คอนเนทิคัต เมน แมสซาชูเซตส์ นิวแฮมป์เชอร์ นิวเจอร์ซีย์ นิวยอร์ก โอไฮโอ เพนซิลเวเนีย โรดไอแลนด์ และเวอร์มอนต์)
2. ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี (ไม่ได้จองคิว) แต่พักอาศัยอยู่ใน 10 รัฐข้างต้น
** ซองที่ใช้จะต้องเป็น USPS Priority Mail Express ขนาด 9-1/2"(L) x 12-1/2"(W) เท่านั้น **
(สถานกงสุลใหญ่ฯ จะไม่รับผิดชอบทุกกรณีหากเกิดการสูญหาย)
กรอกชื่อ-ที่อยู่ผู้ส่ง
Royal Thai Consulate-General NY
351 East 52nd Street,
New York, NY 10022
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
งานประชาสัมพันธ์
โทร 212-754-1770 ext. 300 และ 301
(ในวันและเวลาทำการของสถานกงสุลใหญ่ฯ)
หรือฝากข้อความที่ Facebook หรือ e-mail : [email protected]
วัน-เวลาให้บริการกงสุล:
จันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา 10.00 น. – 12.00 น. และ 13.00 น. – 15.30 น.
โทรศัพท์ (+1) 212-754-1770 ext. (ติดต่อเรา) ,
(+๑) ๖๔๖-๘๔๒-๐๘๖๔ (สายด่วนเพื่อคนไทย นอกเวลาราชการ)